ไอกิโด (ญี่ปุ่น: 合気道; โรมาจิ: Aikidō; ikedo) เป็นศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่นสมัยใหม่พัฒนาโดยโมะริเฮอิ อุเอะชิบะ เป็นการรวมศิลปะการต่อสู้ ปรัชญา และความเชื่อทางศาสนาไว้ด้วยกัน ไอกิโดมักแปลว่า “หนทางแห่งการรวมพลังงานชีวิต” หรือ “หนทางแห่งจิตวิญญาณที่ประสานกัน” เป้าหมายของอุเอะชิบะคือสร้างศิลปะที่ผู้ฝึกฝนใช้ป้องกันตัวและป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บด้วย
ทักษะไอกิโดประกอบด้วยการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนทิศทางโมเมนตัมของท่าโจมตีของคู่ต่อสู้ และการทุ่มหรือล็อกข้อต่อที่ยุติทักษะดังกล่าว
ไอกิโดแผลงมาจากศิลปะการต่อสู้ชื่อ ไดโตรีว ไอกิจูจุสึ แต่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ส่วนหนึ่งมาจากที่อุเอะชิบะเข้าไปพัวพันกับศาสนานิกายโอโมะโตะ ในเอกสารของลูกศิษย์ยุคแรกของอุเอะชิบะยังคงใช้คำว่า “ไอกิจูจุสึ”
ลูกศิษย์อาวุโสของอุเอะชิบะมีวิธีการฝึกไอกิโดที่แตกต่างกันขึ้นกับช่วงเวลาที่พวกเขาศึกษากับอาจารย์ ปัจจุบันพบไอกิโดทั่วโลกในหลายรูปแบบ โดยมีพิสัยการตีความและการเน้นฝึกฝนที่กว้าง อย่างไรก็ตามพวกเขาต่างแบ่งปันทักษะที่อุเอะชิบะและเป็นการต่อสู้ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของคู่ต่อสู้มากที่สุด
แหล่งกำเนิด และ ปรัชญาพื้นฐาน
คำว่า “ไอกิโด” มาจากตัวอักษร คันจิ 3 ตัว:
- 合 – ไอ– รวม, เป็นอันหนึ่งอันเดียว, เหมาะ
- 気 – คิ – วิญญาน, พลัง, อารมณ์, ศีลธรรม
- 道 – โด้ – แนวทาง, ทางเดิน
คำว่า “ไอคิ” ไม่ได้ปรากฏใน ภาษาญี่ปุ่น นอกเสียจากการกล่าวถึง บูโด ทำให้คำนี้แปลได้หลายอย่าง 合 หมายถึง ‘รวม, เป็นอันหนึ่งอันเดียว, มารวมกัน, พบกัน’, ตัวอย่างเช่น 合同 (รวม/เป็นอันหนึ่งอันเดียว), 合成 (ประกอบ), 結合 (รวม, เป็นอันหนึ่งอันเดียว, มารวมกัน), 連合 (สหภาพ/พันธมิตร/สมาคม), 統合 (รวม/เป็นอันหนึ่งอันเดียว), และ (เข้าใจตรงกัน) มีความคิดเป็นการ การตอบแทน, 知り合う (ทำความรู้จักกัน), 話し合い (พูด/อภิปราย/ต่อรอง), และ 待ち合わせる (นัดพบกัน)
気 บ่อยครั้งใช้อธิบายอารมณ์ เช่น なになに気がする (‘ฉันรู้สึก X’, เหมือนมีความคิด แต่เป็นแบบที่ไม่ได้ใช้ เหตุผล และ 気持ち (อารมณ์/ความรู้สึก); อาจหมายถึงพลังงาน หรือ แรง เช่น 電気 (ไฟฟ้า) และ 磁気 (พลังแม่เหล็ก); อาจใช้กล่าวถึง คุณภาพ หรือ ด้านของคน หรือสิ่งของ เช่น 気質 (วิญญาน/นิสัย/ลักษณะบุคคล)
คำว่า โด้ เห็นได้ใน ศิลปะป้องกันตัว เช่น ยูโด และ เคนโด้ และ ในศิลปะที่สงบ เช่น ศิลปะตัวอักษรญี่ปุ่น (โชโด shodō), ศิลปะจัดดอกไม้ญี่ปุ่น (คาโด kadō) และ ศิลปะพิธีดื่มชา (ชาโด chadō or sadō)
ดังนั้น จากมุมมองของภาษา ไอกิโด คือ ‘หนทางของการรวมแรงพลังเข้าด้วยกัน’ คำว่า ไอคิ aiki กล่าวถึง หลักการของศิลปะป้องกันตัว หรือ เทคนิค ผสมผสานเข้ากับ ท่วงท่าของผู้จู่โจม เพื่อที่จะ ควบคุมท่วงท่าของเขา โดยใช้แรงไม่มาก ผู้ฝึกใช้ ไอคิ aiki โดย เข้าใจจังหวะ และ ความตั้งใจของผู้จู่โจม เพื่อหา จุดที่เหมาะสม และ จังหวะเวลาในการ ใช้ เทคนิคย้อนแรวพลัง
ฉะนั้น วิธีนี้คล้ายมากกับ หลักการ ที่อาจารย์ คาโน จิโกโร ผู้ก่อตั้ง วิชายูโด
ประวัติ
ไอกิโด ก่อตั้งโดย อาจารย์โมริเฮ อุเอชิบะ (植芝 盛平, Ueshiba Morihei, 14 ธันวาคม 1883 – 26 เมษายน 1969) ผู้ฝึกไอกิโดมักเรียกอาจารย์ว่า “โอเซนเซ” (Ōsensei) ซึ่งแปลว่า “ครูผู้ยิ่งใหญ่” คำว่า “ไอกิโด” เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยอาจารย์อุเอชิบะมีวิสัยทัศน์ว่า ไอกิโดไม่ใช่แค่การผสมผสานศิลปะป้องกันตัว แต่เป็นการแสดงออกของปรัชญาของอาจารย์ในเรื่องสันติภาพในจักรวาลและการปรองดอง
ในช่วงที่อาจารย์อุเอชิบะมีชีวิตอยู่และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ไอกิโดได้พัฒนาจาก “ไอคิ” ที่อาจารย์อุเอชิบะเคยศึกษา จนกลายเป็นการแสดงออกของศิลปะป้องกันตัวที่หลากหลาย โดยมีผู้ฝึกทั่วโลก
ศิลปะการต่อสู้ที่ไม่มีแพ้ชนะ
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นว่าไอคิโดเป็นศิลปะการต่อสู้แบบไหน ลองดูวิดีโอการแสดงไอคิโดของอาจารย์ทะดะ ฮิโรชิ ศิษย์ที่ติดตามและเรียนรู้ไอคิโดจากอุเอะชิบะ โมริเฮ มาโดยตรงเพียงไม่กี่คนที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันกันค่ะ
ไอคิโดเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ไม่ได้เปรียบเทียบความแข็งแรงหรืออ่อนแอกับคู่ต่อสู้ แต่เป็นการฝึกฝนทักษะทั้งทางร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป ขัดเกลาท่าทางการต่อสู้และการใช้ลมหายใจไปด้วยกัน หลักการคิดและท่าทางที่ใช้จึงไม่ใช่การปะทะกัน แต่เป็นการผสานลมหายใจและแรงของเราเข้ากับอีกฝ่าย ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คงจะเหมือนคนสองคนเต้นลีลาศด้วยกัน ถ้าฝ่ายชายก้าวเท้าขวามาข้างหน้า ฝ่ายหญิงก็จะก้าวเท้าซ้ายไปข้างหลังเพื่อให้ท่าทางผสานสอดคล้องกัน แต่ถ้าฝ่ายหญิงดันก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าแทนละก็ คงจะชนกันจนเละไม่เป็นท่า ไอคิโดก็เช่นกัน ต้องใช้การเคลื่อนไหวที่ผสานและสอดคล้องกันทั้งสองฝ่าย ไม่มีการใช้แรงปะทะหรือต้านกัน ด้วยเหตุนี้ ไอคิโดจึงเป็นการต่อสู้ที่ไม่มีแพ้ชนะ และไม่มีการแข่งขัน ผู้ฝึกไอคิโดจะได้เรียนรู้การเคารพซึ่งกันและกัน และการรวมจิตใจเข้าด้วยกันผ่านการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
การฝึกฝนที่สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย
การฝึกไอคิโดนั้น เราจะได้จับคู่กับคู่ฝึกที่มีทักษะใกล้เคียงกัน โดยมีอาจารย์หรือผู้ฝึกสอนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะฉะนั้น ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ หรือแม้แต่ผู้สูงอายุก็สามารถเล่นได้อย่างปลอดภัย นอกจากจะได้เสียเหงื่อจากการขยับร่างกายแล้ว ยังเป็นการฝึกฝนจิตใจและสมาธิอีกด้วย เปรียบเทียบง่าย ๆ ก็เหมือนกับการทำสมาธิแบบขยับตัวไปด้วย (Moving Zen) การฝึกฝนไอคิโดนั้น ไม่ได้จบเพียงแค่การฝึกในโรงฝึกเท่านั้น เราสามารถนำทักษะด้านการรับรู้จิตใจและความรู้สึกของผู้อื่น และวิธีการรับมือแบบผสมผสาน เลี่ยงการปะทะกันไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
หลังจากอ่านเรื่องราวของไอคิโดที่เล่ามาแล้ว หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้มุมมองใหม่ ๆ ต่อไอคิโด ที่ไม่ใช่แค่ทักษะการต่อสู้ที่ตัวละครในอนิเมะใช้เหวี่ยงหรือทุ่มคู่ต่อสู้เพื่อให้ได้ฉากเท่ ๆ เท่านั้น แต่ยังมีความลึกซึ้งเข้าไปถึงการฝึกฝนจิตใจและการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย หากเพื่อน ๆ คนไหนสนใจอยากจะลองสัมผัสความเป็นญี่ปุ่นจากศิลปะการต่อสู้นี้ดูบ้าง ก็สามารถไปลองเล่นกันได้ที่โรงฝึกภายใต้สมาคมไอคิโดประเทศไทย ซึ่งมีอยู่หลายแห่งทั่วประเทศไทยเลยล่ะค่ะ